Quantcast
Channel: Raspberry Pi Thailand » UART
Viewing all 12 articles
Browse latest View live

รอกล้องของ Raspberry Pi ไม่ไหว ก็ใช้แบบ Serial Port มันซะเลย

$
0
0

ดูตัวอย่างการใช้กล้องที่ http://www.raspberrypi.org/archives/2629 แต่อ่านที่ comment สงสัยต้องรอปี 2013 แน่ๆ (definitely) ในหน้าเว็บนั้นมีคลิปสาธิตทดลองคร่าวๆ อยู่เหมือนกันครับ

อธิบายเพิ่มเติมหน่อย ในคลิปนั้นมีสองเครื่องที่ใช้งานกรอกคำสั่ง เครื่องแรกคงเป็น PC ใช้คำสั่ง netcat (nc) ทำหน้าที่ client ใช้ดูดข้อมูลจากพอร์ต 5000 แล้วเซฟลงไฟล์และส่งต่อให้ mplayer.exe ทำงานต่อ อีกเครื่องก็คือ Raspberry Pi ใช้ netcat เปิดพอร์ต 5000 เช่นกันแต่ทำหน้าที่เป็น server โดยรับข้อมูลมาจาก fifo.264 (ซึ่งน่าจะเป็น pipe ไม่ใช่ file) โดย fifo.264 รับมาจากโปรแกรม /opt/vc/bin/mmalcam ซึ่งดูเหมือนจะเป็นโปรแกรมติดต่อกับกล้อง

ถ้ารอไม่ไหว และไม่อยากใช้ webcam ก็มีผู้ที่อยากใช้กล้องแบบ serial port http://www.raspberrypi.org/phpBB3/viewtopic.php?t=18649&p=196426 เหมือนกัน แต่คงต้องพอร์ตโค้ด library ที่ส่วนใหญ่เป็นของ Arduino มาใช้งาน

อีกรายที่เขานำมาแสดงครับ http://kuvau.tuu.fi แต่ไม่ได้บอกวิธีทำ


คนไทยทำได้ ระบบระบุตำแหน่งของนักวิทยุสมัครเล่นด้วย Raspberry Pi

$
0
0

เคยนำเสนอเกี่ยวกับระบบติดตามตำแหน่งที่ใช้ทั้งวิทยุสมัครเล่นและ Raspberry Pi ของทั้งเมืองนอกไปและมีแนะนำในไทยว่ากำลังจะทำอยู่เหมือนกัน ตอนนี้มีของในไทยแล้วครับ มันคือ nTNC ใช้ ATmega328 เป็นตัวประมวลผล ติดต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านทาง UART และกับวิทยุที่ไมคโครโฟน ลำโพง และปุ่มกดส่ง (push to talk: PTT) นั้นคือใช้ nTNC เป็น modem นั้นเอง รายละเอียดระบุว่าใช้ไฟได้ตั้วแต่ 2.7-5.5 โวลต์ แต่ crystal ความถี่ 18.432MHz อาจเร็วไปสำหรับไฟเลี้ยงแรงดันต่ำแค่ 3.3 โวลต์ แต่ความถี่ crystal อาจไม่ได้ใช้แค่ในตัวประมวลผล แต่ใช้ในความถี่การส่งข้อมูลของ UART ด้วย การใช้งานก็คือใช้ nTNC เป็น rasio modem เพื่อรับสัญญาณพิกัดจากเครื่องอื่นๆ แล้วดูหรือส่งต่อข้อมูลให้ที่อื่นๆ ไว้ดูได้

โดยเจ้าของผลงาน รหัสเรียกขาน HS5TQA (โฮเต็ลเซียร่าไฟว์แท็งโก้คิวเบ็คอัลฟ้า) นำ nTNC มาใส่แผงวงจรในรูปแบบที่ต่อกับ GPIO ของ Raspberry Pi แบบเสียบข้างบนได้เลย ได้ชื่อบอร์ดต่อขยายเป็น nTNC-Raspberry Pi เดาว่าคงต่อกับ UART ของ Pi เหมือนกัน โดยใช้โปรแกรม Aprx ติดต่อกับ modem ซึ่งก็คือ nTNC ใช้โปรแกรม Xastir แสดงเป็นแผนที่ และใช้งาน Aircard ด้วยโปรแกรม Sakis3G

ภาพการดูการติดตามครับ ชมได้ที่ http://aprs.fi/#!mt=roadmap&z=11&

 

จอสัมผัสขนาด 2.8 นิ้วต่อกับ Raspberry Pi จะไร้สายก็ได้

$
0
0

ไปเจอคลิปที่สาธิตการนำจอ LCD แบบ TFT ขนาด 2.8 นิ้วแบบ serial ต่อกับ UART ได้ มาต่อกับ Raspberry Pi และจอนี้ยังมี touch screen ด้วยโดยในตัวอย่างเมื่อจิ้มจอก็จะแสดงพิกัดแกน x,y ที่จิ้ม และเพราะเป็น serial จึงต่อกับ Bluetooth เพื่อใช้งานแบบไร้สายได้ น่าจะคล้ายๆ การต่อเข้าใช้ terminal ที่เคยลองเองละครับ

ถ้าจะทำตาม ที่น่าวิเคราะห์ก็คือความเร็วของ UART เดาว่าจอ LCD น่าจะมีความละเอียด 240×320 พิกเซล คูณกันแล้วได้จำนวน 76800 พิกเซล ถ้าส่งหนึ่งภาพต่อวินาทีและพิกเซลหนึ่งใช้ 8-bit ก็ต้องใช้ความเร็ว 76800×8 = 614400 bps ซึ่งนับว่าสูงเอาเรื่องอยู่เหมือนกัน ถ้าจะทำตามอาจต้องคำนวณตรงนี้ดีๆ

 

ต่อกับ Olimex MOD-RFID1356 เพื่ออ่าน RFID tag

$
0
0

ได้รับ MOD-RFID1356 ซึ่งเป็นเครื่องอ่าน RFID tag แบบใช้คลื่นความถี่ 13.56MHz เป็นของรางวัลจาก Olimex ครับ เลยเอามาต่อกับ Raspberry Pi ดู

raspberrypi-olimex-mod-rfid1356

มี LED สองตัวคือสีเขียวใช้บอกว่าเปิดแล้วและสีแดงใช้บอกว่ามี RFID tag มาจ่อใกล้ๆ อุปกรณ์นี้มีสอง mode คือจำลองตัวเองเป็น USB keyboard หรือเป็น serial บน USB การเปลี่ยนทำได้โดยกดปุ่มที่อยู่บนตัวมันค้างไว้จนกว่า LED จะกระพริบ ถ้า LED สีแดงกระพริบแสดงว่ากำลังจะเป็น keyboard ถ้าสีเขียวกระพริบแสดงว่ากำลังจะเป็น serial ถ้าลอง dmesg ดูก็จะพบการเปลี่ยน mode ว่ามันกำลังทำหน้าที่อะไรอยู่ด้วยครับ

raspberry-pi-olimex-mod-rfid-changed-from-keyboard-mode-to-serial-comm-mode

จากนั้นก็เขียนโปรแกรมง่ายๆ เพื่ออ่าน /dev/ttyACM0 ซึ่งก็คือ serial com port บน USB แต่บางทีอาจได้ตัวเลขอื่นนอกจาก 0 เช่น /dev/ttyACM1 ก็เคยเห็นเหมือนกันนะครับ ใช้ภาษา Python และใช้งาน pySerial ซึ่งติดตั้งง่ายๆ ด้วยคำสั่ง pip install  pyserial

import serial

ser = serial.Serial('/dev/ttyACM0', 9600, timeout=0)
while True:
    line = ser.readline()
    if (line):
        print (line)

จากนั้น ก็ลองเอา RFID tag ไปแหย่ใกล้ๆ ก็จะแสดงรหัสออก RFID tag นั้นออกมาครับ

PIANA: Synthesizer บน Raspberry Pi

$
0
0

งานนี้ PIANA ใช้ Raspberry Pi ทำเป็น Synthesizer ให้เสียงดนตรีครับ

และภายหลังมีต่อกับ MIDI ด้วยครับ ในตอนแรกเจ้าของผลงานมีปัญหาเรื่องความเร็วของ serial port 38,400 bps ซึ่งไม่ตรงกันกับ MIDI ความเร็ว 31,250 bps (จะว่าไปมันก็มีวิธีตั้งความเร็ว UART ให้ได้ตามต้องการ) แต่ต่อมาเจ้าของผลงานก็ตัดสินใจสร้างบอร์ดต่อขยายเพื่องานนี้ด้วย PIC ไมโครคอนโทรลเลอร์ (ต้นแบบได้ใช้ Humble PI ด้วยครับ) และต่อมาภายหลังก็สร้างบอร์ดต่อขยาย Player ไว้ต่อ MIDI และบอร์ดต่อขยาย Conductor ด้วยครับ

 

ที่มา http://raspberrypisynthesizer.blogspot.com

ปล. synthesizer อีกแบบครับ http://www.marc-nostromo.com/?p=158

 

ทดลองใช้ CP2102 USB to TTL Serial กับ Raspberry Pi Console

$
0
0

มี USB to TTL Serial อยู่ตัวหนึ่งครับมันใช้ไอซี CP2102 โดยตั้งใจจะนำมาใช้กับ Arduino เพราะมันมีขา RST ด้วย แต่ขอเอามาลองกับ Raspberry Pi เพื่อใช้งาน console ผ่านทาง serial port กันหน่อย งานนี้ต้องกล้าๆ หน่อยครับ เพราะฉลากเขียนว่า TTL (Transistor–transistor logic) ซึ่งปกติจะหมายถึงไอซีตระกูล 74xx ทั้งหลายที่ใช้ไฟฟ้าแรงดัน 5 โวลต์ ซึ่งถ้าเอามาต่อกับ Raspberry Pi ซึ่งตามคู่มือระบุว่าทนได้แค่ 3.3 โวลต์อาจเป็นอันตราย ขอทดสอบวัดแรงดันก่อนครับ

usb-to-ttl-only-3.33-volt

ทดลองใช้ USB to TTL แบบยังไม่ต่อกับ Raspberry Pi วัดแรงดันที่ขา TXD ได้ 3.33 โวลต์ ดังนั้นอุปกรณ์ตัวนี้ไม่น่าทำอันตรายกับ Raspberry Pi ได้ครับ เดาว่าที่ปล่อย 3.3 โวลต์ จะได้ใช้งานเป็น logic 1 ของทั้งวงจรที่ใช้ไฟเลี้ยง 3.3 และ 5 โวลต์ จากนั้นก็ต่อกับ Raspberry Pi กันเลย

connect-notebook-cp2102-raspberry-pi

งานนี้ผมใช้ไฟ 5 โวล์ตจาก USB to TTL มาเลี้ยงให้ Raspberry Pi ด้วยครับด้วยสายไฟสีแดง สายไฟสีดำต่อกับ ground ส่วนสายสีเขียวต่อกับ TXD ของ USB to TTL และต่อกับ TXD ของ Raspberry Pi และสายสีน้ำเงิน ต่อกับ RXD ของ USB to TTL และต่อกับ RXD ของ Raspberry Pi แสดงว่าที่ฉลากของ USB to TTL ที่บอก RXD และ TXD หมายถึงให้ไปต่อกับชื่อ TXD หรือ RXD ตามระบุที่คอมพิวเตอร์ (กรณีนี้คือ Raspberry Pi) ครับ (ฉลากบน USB to TTL ไม่ได้บอกว่ามันทำหน้าที่   TXD หรือ RXD ของ USB to TTL ที่ต้องไขว้ TXD กับ RXD กันระหว่าง USB to TTL กับ Raspberry Pi)

สำหรับ Windows อาจต้องลง driver จากผู้ผลิตก่อนนะครับ ของผมใช้วิธีเรียกโปรแกรม compmgmt.msc แล้ว update driver โดยเลือกจาก folder ทีได้ unzip ไฟล์ driver จากผู้ผลิตไว้ก่อนแล้ว จากนั้นก็ใช้โปรแกรม PuTTY ตัวเดียวกับที่ใช้ SSH ได้ละครับ

cp2102-raspberry-pi-putty-0001 cp2102-raspberry-pi-putty-0002

ก็คลิ๊กเรียกโปรแกรม PuTTY ของผมได้ USB to TTL เป็น COM7 ในตอนที่ติดตั้ง driver จากนั้นตั้งความเร็วเป็น 115200 ซึ่งตรงกับที่กำหนดใน /etc/inittab และ /boot/cmdline.txt บน Raspbian และตั้งค่า Data bits = 8, Stop bits = 1, Parity = None, Flow control = None ด้วยครับ

cp2102-raspberry-pi-putty-003

จากนั้นเราก็จะสามารถใช้ console ผ่าน /dev/ttyAMA0 ของ Raspberry Pi ได้

สำหรับบน Linux จะคล้ายคลึงกัน ของผมหลังจากเสียบ USB to TTL แล้ว dmesg แล้วเจอ CP210X เลยครับ คงใช้งานได้เลย

cp2102-linux-001

และเมื่อดูที่ /dev (ตอนนี้ Linux ตัวอื่น ไม่ใช่ที่ Raspbian นะครับ) ก็มี /dev/ttyUSB0 ด้วย จากนั้นผมก็เรียก PuTTY ซึ่งมีเวอร์ชันบน Linux เหมือนกัน หน้าตาคล้ายๆ กัน ตั้งค่าแนวเดียวกันเลยครับ ต่างกันที่ต้องใช้ชื่ออุปกรณ์เป็น /dev/ttyUSB0

cp2102-linux-005 cp2102-linux-006

และก็ใช้งานได้เหมือนกันครับ

cp2102-linux-007

เกี่ยวกับการตั้งค่าที่ Raspbian ให้ใช้งาน console ผ่านทาง serial port ได้ปกติในไฟล์ /etc/inittab บรรทัดสุดท้ายจะเป็นตัวบ่งบอกว่าจะให้ใช้งานได้ไหม บรรทัดสุดท้ายนั้นข้อความประมาณนี้ครับ

T0:23:respawn:/sbin/getty -L ttyAMA0 115200 vt100

ถ้าเราอยากใช้ serial port ของ Raspberry Pi ไปทำงานอื่น อาจต้อง comment บรรทัดนี้ และแก้ที่ไฟล์ /boot/cmdline.txt เอาตรง console=ttyAMA0,115200 kgdboc=ttyAMA0,115200 ออกไป ซึ่งถ้า OS ของใครตั้งให้เป็นแบบนี้ ก็อาจใช้เป็น console ไม่ได้นะครับ

RIO (Raspberry IO) บอร์ดต่อขยายสารพัด

$
0
0

บอร์ดต่อขยายเจ้านี้ RIO (Raspberry IO) มาขอระดมทุนใน Kickstarter ครับ ดูแล้วต่อได้สารพัดแบบเลยครับ ไม่ว่าจะเป็น RS-232, RS-485 (ซึ่งต่อเป็น DMX512 ได้อีก), CAN, Analog/Digital/Pulse Input, Analog Output, Digital Output ที่กระแสได้ถึง 1 แอมป์ และ AHRS (attitude and heading reference system ซึ่งติดมาให้เฉพาะในรุ่นที่แพงกว่า) สำหรับการนำร่อง ซึ่งก็คือเข็มทิศแม่เหล็ก เครื่องวัดความเร่ง และไจโรสโคป อย่างละ 3 แกน รวมทั้งหมด 9 แกน และมีแหล่งจ่ายไฟฟ้าให้กับ Raspberry Pi ในตัวมาให้ด้วย โดยมันจะรับไฟฟ้าตั้งแต่แรงดัน 10 ถึง 40 โวลต์เข้ามาแล้ว regulate ให้ได้ 5 โวลต์เพื่อส่งไปเลี้ยงให้ Pi

เพื่อจัดการ input/output ทั้งหลาย จึงใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์แบบ ARM Cortex-M3 โดยต่อไปยัง connector แบบ MX34 ที่มี 40 ขา ซึ่งดูจากแผนผังแล้ว input/output ทั้งหมดนั้นผ่านทางไมโครคอนโทรลเลอร์ ซึ่งหมายความว่าคงต้องใช้โปรแกรมที่จะใช้งานคงต้องรองรับการใช้งาน input/output ผ่านทางไมโครคอนโทรลเลอร์ตัวนี้ด้วย (ใช้โค้ดเก่าอาจจะไม่ได้)

ราคาระดมทุนขั้นต่ำเพื่อให้ได้ของคือ 75 ดอลลาร์ ถ้าเทียบกับ PiCANdy แล้ว RIO ก็ราคาถูกกว่าครับ และต่อขยายพอร์ตได้มากกว่า มีไมโครคอนโทรลเลอร์ในตัว และผลงานต้นแบบเป็นรูปเป็นร่างจับต้องได้จริงแล้ว อันที่จริงเจ้าของผลงานนี้เคยขอระดมทุนมาก่อนแต่ได้ยกเลิกเองไปก่อน

ที่มา Kickstarter

RFPiD: ใช้ RFID เปิดประตู

$
0
0

ตรงไปตรงมาครับ ใช้ RFID เปิดประตูแบบใช้คอมพิวเตอร์ช่วยควบคุม แต่เปลี่ยนจากการใช้คอมพิวเตอร์แบบที่สิ้นเปลืองค่าไฟในระดับสองร้อยดอลลาร์ต่อปีมาเป็น Raspberry Pi ที่ค่าไฟไม่ถึงห้าดอลลาร์ต่อปีและสามารถทำงานแบบนี้ได้อย่างสบายๆ แจกโค้ดมาให้ด้วยนะครับ หลักๆ ก็อยู่ในไฟล์ rfid.py

ตัวอ่าน RFID ก็ต่อกับ Pi ผ่าน USB ได้อยู่แล้ว และสคริป Python ก็อ่านผ่านทางไฟล์ /dev/ttyUSB0 แบบ serial port ได้ โดยเอาไปเทียบกับฐานข้อมูลที่เป็น SQLite แล้วสั่งการไปยัง GPIO เพื่อเปิดประตู (ใช้ RPi.GPIO มีการต่อกับทรานซิสเตอร์) หรือเปิดปิดดวงไฟ LED ได้

ที่มา http://nesit.org/projects


Apple II Pi –ต่อเครื่อง Apple II เข้ากับ Raspberry Pi

$
0
0

งานนี้ Apple II Pi ใช้ไอซี 6551 ซึ่งออกแบบมาเพื่อไว้ต่อ UART กับไอซี 6502 ซึ่งเป็น CPU ที่ใช้ใน Apple II มาประกอบเป็นบอร์ดต่อขยายที่เชื่อมโยง Raspberry Pi และ Apple II เข้าด้วยกันผ่านทาง UART หรือ serial port ครับ โดยที่ Apple II จะมี slot ไว้เสียบ interface card แล้วไอซี 6551 ในบอร์ดนี้จะ interface ไปเป็น serial port ให้ Raspberry Pi ดูจากวงจรแล้วมีการป้องกันแรงดันไฟฟ้าที่ใช้ไม่ตรงกัน RPi ใช้ 3.3 โวลต์ แต่ Apple II ใช้ 5 โวลต์ งานนี้แจก source code มาให้ด้วยครับ แต่อ่านจากวิธีใช้แล้วงานนี้อาจต้องใช้แผ่นดิสก์ 5 1/2 นิ้วด้วย

ที่มา http://schmenk.is-a-geek.com/wordpress/?cat=10

บอร์ดต่อขยาย GertDuino ข้างในเหมือน Arduino Uno จากผู้สร้าง Gertboard

$
0
0

บอร์ดต่อขยายให้กับ Raspberry Pi ที่ใช้งานแบบ Arduino อีกบอร์ดครับ รายนี้คือ GertDuino จากผู้สร้าง Gertboard บนบอร์ดมีไอซีไมโครคอนโทรลเลอร์ ATmega328 แบบเดียวกับ Arduino Uno ทำงานที่แรงดันไฟฟ้า 5 โวลต์ ความถี่สัญญาณนาฬิกา 16 MHz และดูเหมือนไม่มีไอซี ATmega8U2 หรือ ATmega16U2 ที่ทำหน้าที่แปลง serial port (UART) ให้เป็น USB อย่างที่ Arduino Uno มีนะครับ แต่ GertDuino มีไอซีที่ใช้แปลงระดับแรงดันไฟฟ้าของ serial port ให้ไปใช้งานระดับแรงดันไฟฟ้าแบบ RS-232 ได้ และยังมีไอซี ATmega48 อีกตัวเพิ่มเข้ามา ทำหน้าที่เป็นนาฬิกา Real-time clock (RTC) และพอร์ตสื่อสารอินฟราเรด (IrDA) โดยต่อกับ I2C ของ Raspberry Pi

สำหรับ serial port สามารถเลือกที่จะต่อเชื่อมโยงกันคู่หนึ่งได้ โดยเลือกจาก serial port ของไอซีที่ใช้แปลง RS-232, Raspberry Pi, ATmega48 และ ATmega328 ทั้งนี้มีวงจรป้องกันแรงดันไฟฟ้า 5 โวลต์จะไปทำลาย Raspberry Pi อยู่บนบอร์ดมาให้อยู่แล้ว นอกจากนี้ยังมีปุ่มกดสองปุ่มและ LED หกตัว และยังใช้ Raspberry Pi ทำการโปรแกรม ATmega48 และ ATmega328 ได้ด้วย

ที่มา http://www.element14.com/community/docs/DOC-64326

คลิปแสดงว่า มันทำอะไรได้บ้างครับ

ใช้ Bluetooth Serial Terminal แบบเร็วๆ

$
0
0

เคยสาธิตการใช้ Bluetooth module ต่อกับ serial port ของ Raspberry Pi มาครั้งหนึ่ง แต่ตอนนั้นไม่ได้ปรับความเร็วที่ตัว Bluetooth จึงใช้ความเร็วได้แค่ 9,600 bps ตามค่าที่ตั้งมาจากโรงงาน อันที่จริงมันสามารถปรับความเร็วได้ด้วยครับแต่ต้องใช้ USB to serial แบบ 3.3 โวลต์มาช่วย ซึ่งก็คืออุปกรณ์ตัวเดียวกับที่ใช้เพื่อต่อ serial port ของ Pi ผ่านทาง USB กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ซึ่งเคยทดสอบแล้วว่าต่อใช้กับไฟฟ้าแรงดัน 3.3 โวลต์ได้แน่ๆ ไม่พัง แต่ถ้าไม่มี ก็ใช้ Raspberry Pi มาใช้ตั้งค่าให้ Bluetooth module เลยครับ

ต่อ Raspberry Pi กับ Bluetooth เหมือนเดิมเลยครับ จากนั้นที่ Raspberry Pi แก้ /boot/cmdline.txt ให้ไม่ใช้งาน terminal เอา console=ttyAMA0,115200 kgdboc=ttyAMA0,115200 ออก และที่ /etc/inittab ให้ comment ตรงบรรทัด T0:23:respawn:/sbin/getty -L ttyAMA0 115200 vt100 ซึ่งควรจะอยู่ที่บรรทัดสุดท้ายด้วย # ซึ่งจะกลายเป็น #T0:23:respawn:/sbin/getty -L ttyAMA0 115200 vt100 อันที่จริงตำแหน่งทั้งสองไฟล์ที่แก้ไป ก็ตรงกับที่ใช้ตั้งค่าความเร็ว terminal เช่นกันครับ

จากนั้นติดตั้ง minicom ด้วยคำสั่ง

sudo apt-get install minicom

แล้วใช้งานโปรแกรม minicom ซึ่งจะใช้ออกคำสั่งสู่ Bluetooth module ผ่านทาง serial port ของ Raspberry Pi ซึ่งก็คือ /dev/ttyAMA0 ด้วยความเร็ว 9,600 bps

minicom -b 9600 -o -D /dev/ttyAMA0

จากนั้นพิมพ์คำสั่ง AT+BAUD8 ซึ่งเป็นการเปลี่ยนไปใช้ความเร็ว 115200 ซึ่งมันควรจะตอบกลับมาด้วยข้อความ OK115200 ผมแนะนำให้เขียนข้อความ AT+BAUD8 ไว้ก่อน แล้ว copy paste ใส่ minicom เพราะถ้าพิมพ์ AT เฉยๆ มันจะแค่เป็นการทดสอบการเชื่อมต่อ จะมีตอบกลับมาแค่ OK เฉยๆ และต้องมั่นใจว่า Bluetooth ไม่ได้เชื่อมต่อแบบไร้สายกับการสื่อสารอื่น (โปรดสังเกตตามภาพข้างล่างครับ :D ลองหลายครั้งเลย)

rpi-change-bluetooth-speed-baud8

จากนั้น ก็แก้ไฟล์ /boot/cmdline.txt และ /etc/inittab กลับคืน เพื่อให้ใช้ terminal ผ่าน serial port ได้อีกครั้งครับ

ได้แนวทางจาก http://scruss.com/blog/2012/12/18/adding-a-bluetooth-serial-terminal-to-raspberry-pi และ http://thingylab.com/wiki/hc06_linvor_1.5_at_command_set

ต่อกับ Dumb Terminal

$
0
0

BeagleBone Black ต่อกับ dumb terminal ก็มีมาแล้ว Raspberry Pi ก็มีคนทำบ้างแล้วครับ ไปต่อกับ dumb terminal รุ่น ADM3A โดยใช้ serial port ที่อยู่บน P1 ของ Pi แต่ต้องต่อกับไอซี MAX232 เพื่อแปลงระดับแรงดันไฟฟ้าของ serial port ของ Pi ให้เป็นแบบ RS232 เพื่อไปต่อกับ dumb terminal ได้ แต่มันมีความเร็วแค่ 9600 bps จึงต้องมีการแก้ไฟล์ /boot/cmdline.txt และ /etc/inittab ด้วยครับ

ที่มา http://adcurtin.wordpress.com/2014/01/26/adm3a-ancient-dumb-terminal/

Viewing all 12 articles
Browse latest View live